Search


ในเรื่องนี้มีคนสองแบบ “อูฐ” และ “สิงโต”
  • Share this:


ในเรื่องนี้มีคนสองแบบ “อูฐ” และ “สิงโต”
ผมได้อ่านเรื่องหนึ่งที่บอกถึง 3 ขั้นสู่ชีวิตที่แท้จริง
ขั้นแรก พวกเรา คือ อูฐ
เราแข็งแรง เป็นสัตว์ที่อดทนมาก ที่สามารถบรรทุกของเยอะแยะ
และยังทำตามคำสั่งได้ดี

ตั้งแต่เกิด อูฐโน้มตัวลง และ อนุญาตให้คนอื่นวางของบนหลังเขา
ด้วย ความคิด ด้วยความคาดหวัง
เขาถูกสอนให้คิดว่าอะไรสำคัญ และ อะไรไม่สำคัญ
เขาถูกสอนให้ทำนั่น ทำนี่
นี่เป็นขั้นของชีวิต ในการ”ฟังผู้บัญชา”

กาลครั้งหนึ่ง อูฐตัวหนึ่งกำลังแบกของสัมภาระความคิดของทุกๆคน
เขามีเส้นทางตามที่คนมอบหมายเพื่อจะไปส่งของที่ทะเลทราย

ในระหว่างทาง เขาเห็นเส้นทางอีกเส้นหนึ่งจากไกลๆ
เขามองเห็นทะเลสาบที่ใสสะอาดที่เขาสามารถดื่มได้ และมีขุมทรัพย์อยู่ที่นั่น
เขาตัดสินใจเดินไปในเส้นทางนั้น

ทันใดนั้น มังกรผู้มีฤทธิ์ ชื่อว่า “เจ้าจง” บินมาขวางทางเขาไว้

“เจ้าจง” เป็นตัวแทนของ ความคิดโบราณ
สิ่งที่สังคมได้วางแบบไว้ และ สิ่งที่สังคมคาดหวังกับคุณ
ตัวอย่างเช่น
ความเชื่อว่า อะไรคือความงาม อะไรควรสวมใส่
ความคิดที่เราต้องออกไปเรียนเพื่อเอาวุฒิการศึกษา

สังคม มีแผนการสำหรับคุณไปทั้งชีวิตแล้ว
แต่คุณ..ไม่ต้องทำตามนั้นเสมอไป

เจ้ามังกร “เจ้าจง”ตัวนี้ เขียนที่เกล็ดของเขาเต็มไปหมดว่า
“เจ้าจงทำสิ่งนั้น” “เจ้าจงทำสิ่งนี้”
และ อูฐ จะต้องต่อสู้กับ มังกรตัวนี้ เพื่อที่จะกลายเป็น “สิงโต”

และทางที่จะปราบมังกรได้ คือ ต้องพูดว่า “ไม่” ตามด้วย..”ฉันจะ…..”
ดังนั้น ป้องกันด้วย “ไม่” และ ปล่อยหมัดด้วย “ฉันจะทำตามที่หัวใจเรียกร้อง”

แค่พูดว่า “ไม่” อย่างเดียวไม่ได้ คุณจำเป็นต้องมี”ฉันจะทำ…..”ตามมาด้วย เช่น

“เจ้าจงเรียนสูงๆ แล้วหางานทำที่ได้เงินเยอะๆ ”
“ไม่… ขอบคุณ… ฉันอยากเป็นจิตรกร อยากทุ่มเทชีวิตให้กับการเรียนรู้การวาดภาพ”

“คืนนี้ไปกินเหล้ากัน..”
“ไม่…ขอบคุณ…คืนนี้ฉันอยากจะออกกำลังกาย”

ในที่สุด อูฐเอาชนะมังกรได้สำเร็จ และได้กลายเป็น “สิงโต”
ผู้ซึ่ง เป็นอิสระ ในการเดินทางตามหัวใจของเขา
เป็นอิสระ ต่อความคิด และ ความเชื่อของคนอื่น
เป็นอิสระ จาก การแบกรับอันหนักหน่วงบนความคาดหวังของผู้คน

การปฏิเสธ วิธีเก่าๆ มันไม่ใช่เพื่อทำร้ายจิตใจ หรือ ไม่แสดงความเคารพผู้อื่น แต่เพื่อสร้างเส้นทางใหม่ๆ คุณค่าทางความคิดแบบใหม่ๆ

เพราะมนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีวิวัฒนาการ ไม่ย่ำอยู่กับที่
เมื่อเราติดอยู่กับความเชื่อเดิม ความเปลี่ยนแปลงก็ไม่เกิดขึ้น
นั่นคือ ช่วงเวลาที่เรา”หยุดพัฒนา”

ผมชอบคำคมนี้ “สัตว์ที่จะอายุยืนยาว ไม่ใช่สัตว์ที่แข็งแรงที่สุด หรือฉลาดที่สุด แต่เป็นสัตว์ที่รู้จักปรับตัวได้ดีที่สุด”

สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ เราไม่ควรหยุดที่จะค้นหาเส้นทางเดินใหม่ๆ ในความคิด ความเชื่อ ในขณะที่ยังเคารพความคิดโบราณ หรือเส้นทางแบบเก่าด้วย เพื่อที่เราจะสามารถพัฒนาขึ้น และเจริญขึ้น รวมถึงประเทศของเราด้วย

(ขั้นที่3ต่อจากสิงโต คือ “เด็ก” ไว้มีโอกาสจะมาเล่าต่อนะครับ)


Tags:

About author
not provided
Instagram: @Sean_Buranahiran YouTube: Sean Buranahiran
View all posts